มวยไทย ศิลปะการต่อสู้

Ads Here

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ปรัชญาซะมุไร

 ปรัชญาซะมุไร

หลักปรัชญาของศาสนาพุทธนิกายเซน บวกกับบางส่วนของลัทธิขงจื๊อ มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมซะมุไรได้ดีพอ ๆ กับลัทธิชินโต

นิกายเซนได้กลายเป็นหลักคำสอนสำคัญในเรื่องของวิธีการที่ทำให้จิตสงบ

ฐานคติของพุทธในเรื่องการกลับชาติมาเกิด ก็นำซะมุไรไปสู่การละเลิกการทรมานและการฆ่าฟันอย่างไร้เหตุผล ฐานคตินี้มีอิทธิพลมากจนซะมุไรบางคนถึงกับยอมเลิกใช้ความรุนแรง และบวชเป็นพระสงฆ์หลังจากที่ตระหนักว่าการฆ่าฟันไม่ได้ส่งผลดีอย่างไร ขณะที่ซะมุไรบางคนตระหนักถึงเรื่องเช่นนี้ได้ตอนที่อยูในสมรภูมิจริง จนเป็นเหตุให้เขาต้องถูกฆ่าตาย ณ ที่นั้นก็มี

ส่วนบทบาทของลัทธิขงจื๊อที่มีผลต่อวัฒนธรรมซะมุไรก็คือ การเน้นความสำคัญในการรักษาความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ปกครองให้ได้ ซึ่งนี่คือความจงรักภักดีที่ซะมุไรต้องการจะแสดงต่อเจ้านายของเขา

บูชิโดคือ ประมวลหลักการปฏิบัติ” ที่ติดตัวซะมุไรทุก ๆ คน หลักนี้เริ่มบังคับใช้ในสมัยเอโดะ โดยรัฐบาลโชกุนโทกึงาวะ เพื่อพวกเขาจะได้ควบคุมเหล่าซะมุไรได้ง่ายขึ้น 
แต่เหตุการณ์ของ กลุ่มโรนิงทั้ง 47” ก็ทำให้เกิดการโต้เถียงกันเกี่ยวกับประเด็นความถูกต้องของหลักปฏิบัติของซะมุไร และประเด็นที่ว่าหลักบูชิโดควรจะประยุกต์ใช้ได้อย่างไร เนื่องจากซะมุไรซึ่งกลายเป็นโรนิงทั้ง 47 คนนี้ไม่ได้ให้ความเคารพต่อโชกุนซึ่งเป็นผู้ปกครองของพวกเขา แต่ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะความภักดีและความซื่อสัตย์ที่มีต่อนายเก่าของพวกเขาเอง ผลสุดท้าย การกระทำของพวกเขาถูกตัดสินว่าเป็นการกระทำที่แสดงออกถึงความซื่อสัตย์ แต่ไม่เป็นการแสดงถึงความจงรักภักดีต่อโชกุน นี่จึงเป็นเหตุให้พวกเขาทั้ง 47 คนต้องถูกฆาตกรรมด้วยการสำนึกผิดและสิทธิในการคว้านท้องฆ่าตัวตาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น